02-50เขตกรุงเทพโน้ตบุ๊ครวม50เขตในกรุงเทพโน้ตบุ๊ค

บริการรับซื้อ-แลกเปลี่ยนโน้ตบุ๊คบางแค

ต่อรอง บริการรับซื้อ-แลกเปลี่ยนโน้ตบุ๊ค

โน้ตบุ๊คเครื่องใหม่ มือสอง รับประกันศูนย์ ราคาปลีกและส่ง ทั่วไทย

www.torrong.com

แหล่งซื้อ-แลกเปลี่ยนที่ดีที่สุด


สำหรับลูกค้าท่านใด ที่กำลังมองหาอุปกรณ์คุณภาพดีซักเครื่องในราคาที่ถูกและเหมาะสมต่อการใช้งานของลูกค้าเอง มาคุยกับเรา เรายินดีให้คำแนะนำเพื่อให้ลูกค้าได้อุปกรณ์ที่ถูกใจไปใช้ ทางเรามีนโยบายจำหน่ายอุปกรณ์ในราคาที่เหมาะสมแก่ลูกค้าทุกท่าน ลูกค้าสามารถตรวจเช็คอุปกรณ์ที่ลูกค้าสนใจซื้อ-แลกเปลี่ยนได้ที่เพจ @TorRongThailand
หรือจะสอบถามกับทางเราได้ทันทีที่
ID Line : @torrong

เพิ่มเพื่อน

ต่อรองราคา ติดต่อไลน์@

ต่อรองค่าใข้จ่าย ผ่านเฟซบุ๊ค

ซื้อ-แลกเปลี่ยนเครื่องใหม่ มือสอง เครื่องใหม่รับประกันศูนย์ ราคาปลีกและส่ง

รับเทิร์นอุปกรณ์ ทุกรุ่น ทุกสภาพ ทั้งเครื่องใหม่และเครื่องมือสอง เหมาทั้งล็อต ราคาปลีก-ส่ง อุปกรณ์ทุกเครื่องผ่านการเช็คสภาพมาอย่างดี จึงได้คุณภาพแน่นอน เราจะแจ้งข้อมูลเครื่องให้ลูกค้าทราบ ก่อนทำการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยน เพื่อความยุติธรรมต่อลูกค้า ลูกค้าจึงมั่นใจได้ในคุณภาพของสินค้าและการบริการ

ให้ราคาสูง ราคาดี โดนใจ รับประกันความพอใจ

เขตบางแค เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร

อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ ซึ่งถือเป็นเขตเกษตรกรรมผสมผสานแหล่งที่อยู่อาศัยสภาพแวดล้อมดีทางฝั่งธนบุรี ปัจจุบันเขตบางแคเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 2 ในกรุงเทพมหานครรองจากเขตสายไหม

ที่ตั้งและอาณาเขต 
ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของฝั่งธนบุรี มีอาณาบริเวณติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตทวีวัฒนาและเขตตลิ่งชัน มีคลองทวีวัฒนา และคลองบางเชือกหนังเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตภาษีเจริญ มีคลองลัดตาเหนียว คลองบางไผ่ คลองครูเสงี่ยม คลองบางแวก และคลองพระยาราชมนตรีเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางบอน มีคลองบางโคลัดเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตหนองแขม มีแนวขอบทางถนนบางบอน 3 ซอยเพชรเกษม 69 (อินทาปัจ) และคลองทวีวัฒนาเป็นเส้นแบ่งเขต

ที่มาของชื่อเขต
"บางแค" มาจากคำว่า "บาง" หมายถึงทางน้ำเล็ก ๆ หรือทางน้ำที่ไหลขึ้นลงตามระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองหรือทะเล และยังหมายถึงหมู่บ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ในบริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน ส่วนคำว่า "แค" นั้น ในสมัยก่อนอาจมีชาวบ้านชาวสวนปลูกต้นแคไว้เป็นจำนวนมาก หรืออาจเป็นเพราะว่าในอดีตมีต้นแคขึ้นอยู่ทั่วไปในท้องที่นี้ จึงเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบันสำนักงานเขตบางแคจึงได้มีนโยบายปลูกต้นแคตามโครงการสร้างเอกลักษณ์เมืองด้วย

ประวัติ 
เขตบางแคในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอหนองแขม จังหวัดธนบุรี มีชื่อว่า ตำบลหลักหนึ่ง ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ตำบลบางแค ตามชื่อคลองสายหนึ่งที่ไหลผ่านพื้นที่และหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมคลองนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 สำนักนายกรัฐมนตรีได้ยุบอำเภอหนองแขมมาขึ้นกับอำเภอภาษีเจริญ แต่ในช่วงแรกตำบลบางแคยังคงเป็นท้องที่ปกครองของกิ่งอำเภอหนองแขมอยู่ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2473 ทางการจึงโอนตำบลนี้มาขึ้นกับอำเภอภาษีเจริญโดยตรง เนื่องจากอยู่ใกล้กันและติดต่อกันได้สะดวกกว่า

เมื่อมีผู้คนย้ายถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2498 กระทรวงมหาดไทยจึงจัดตั้งสุขาภิบาลบางแคขึ้น ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางแค บางหว้า และบางด้วน เพื่อประโยชน์ในการทำนุบำรุงท้องถิ่น และขยายเขตออกไปในปี พ.ศ. 2501 และ พ.ศ. 2513

จนกระทั่งมีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีในปี พ.ศ. 2514 และเปลี่ยนรูปแบบเป็นกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2515 โดยให้ยุบการปกครองท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาล รวมทั้งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ ตำบลบางแคจึงเปลี่ยนฐานะเป็น แขวงบางแค ขึ้นกับเขตภาษีเจริญ ต่อมาพื้นที่ทางทิศตะวันตกของเขตภาษีเจริญมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่น ในปี พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานครจึงได้ตั้งสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 ขึ้นเพื่อให้บริการประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในแขวงบางแค แขวงบางแคเหนือ และแขวงบางไผ่

ในที่สุดจึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทย แบ่งพื้นที่ในความดูแลของสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 รวมกับพื้นที่แขวงหลักสองของสำนักงานเขตหนองแขมมาจัดตั้งเป็น เขตบางแค เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ได้มีประกาศกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงแนวเขตและพื้นที่แขวงทั้งสี่ของเขตบางแคใหม่ เพื่อความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541

และเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ได้มีประกาศกรุงเทพมหานครเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงทั้งสี่ในเขตบางแคใหม่ เพื่อความสะดวกและความชัดเจนแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน โดยประกาศฉบับนี้เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552